• หน้าแรก
  • รวมรูปภาพ
  • คำขวัญวันเด็ก
  • คำขวัญ ๗๗ จังหวัด
  • เสียงธรรมคีตะ
  • สมุดเยี่ยม
  • ติดต่อเรา
ทำบุญตักบาตร รักษาศีล ฟังเทศน์ฟังธรรม ทุกวัน
                                                                                      วันไหว้ครู
                          
                                                     ความเป็นมาของวันไหว้ครู
                 วันไหว้ครูประจำปี ซึ่งทุกสถาบันมักจะเลือกเอาช่วงเปิดภาคเรียนใหม่ๆไปแล้วประมาณสัปดาห์ 3-4   ซึ่งนักเรียนควรทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งถึงจุดประสงค์ของการจัดพิธีไหว้ครู ศึกษาประวัติความเป็นมา เพื่อการเรียนรู้
และให้สามารถปฏิบัติให้ถูกต้องตามธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม
              คนเราทุกคนที่เกิดมาในโลก จะต้องเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ มากมายตั้งแต่เกิดจนวาระสุดท้ายของชีวิตในวัยเด็ก
ต้องได้รับการอบรมสั่งสอนจากมารดาบิดา ครั้นเติบโตขึ้นก็รับการศึกษาจากครูอาจารย์ การศึกษาในระยะแรกนี้จะเป็น
พื้นฐานในการดำรงชีวิตและเป็นรากฐานของการศึกษาในขั้นสูงต่อไป เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนหรือ
สถาบันต่างๆ แล้ว ก็มิได้หมายความว่าการศึกษาเสร็จสิ้นสมบูรณ์ลงเพียงเท่านั้น เรายังจะต้องศึกษาชีวิตและ
การงานต่าง ๆ ต่อไปอีก ตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่โดยอาศัยพื้นฐานความรู้ที่ได้รับจากมารดา บิดาและครูอาจารย์ จึงเป็น
บุคคลสำคัญ และเป็นผู้มีอุปการะคุณของเราทุกคนการเคารพเชื่อฟังปฏิบัติตามคำสอนและยกย่องท่านในฐานะ
ปูชนียบุคคลจึงก่อให้เกิดสิริมงคลและความ เจริญก้าวหน้าในการดำรงชีวิตดังที่มีพระบาลีกล่าวไว้ในมงคลสูตรว่า
 "ปูชา จ ปูชนียานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ" แปลว่า"การบูชาผู้ควรบูชา เป็นมงคลอันอุดม" 

                                   
              สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสสอนไว้ในเรื่องทิศ 6 ว่า ครูคือผู้อนุเคราะห์ศิษย์ด้วย
การปฏิบัติ 5 ประการ คือ แนะนำดี ได้แก่ การสอนให้ศิษย์ตั้งตนอยู่ในทำนองคลองธรรม รู้จักเหตุ รู้จักผล
รู้จักผิดชอบชั่วดี  ให้เรียนดี คือให้ศิษย์ได้รับการศึกษาด้วยดี ไม่มีอุปสรรคขัดข้อง ได้รับความรู้อย่างเต็มที่ สอนศิล
ปวิทยา โดยไม่ปิดบังอำพราง คือ สอนหรือให้ความรู้จนเต็มความสามารถของตน ยกย่องศิษย์ที่มีความรู้
ความสามารถและมีความประพฤติดีให้ปรากฏ ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย หมายถึง ป้องกันมิให้ศิษย์ประสบ
ความวิบัติตกต่ำในทุก ๆ ด้าน เช่น ป้องกัน มิให้ถูกใส่ร้ายป้องกันมิให้ประพฤติชั่ว ป้องกันมิให้ได้รับอันตราย เป็นต้น 
บุคคลที่ปฏิบัติตนต่อผู้อื่นด้วยความประพฤติดังกล่าวอย่างครบถ้วน ย่อมถือได้ว่าเป็นครูอย่างแท้จริง แม้ผู้เป็นครูจะ
มีความประพฤติปฏิบัติตรงตามคำสอนของพระบรมศาสดาเพียงข้อใดข้อหนึ่งก็สมควรที่ผู้เป็นศิษย์จะต้องเคารพ ยกย่อง
และการเคารพยกย่องครูนั้น ต้องเคารพยกย่องโดยความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ย่อมถือได้ว่า เป็นความเคารพ
ยกย่องที่ไม่งมงายและไม่เกิดโทษดังนั้นผู้เป็นศิษย์พึงแยกบุคคลและสภาพธรรมะหรือความประพฤติออกจากกัน
เป็นคนละส่วนจึงจะมองเห็นความน่าเคารพในครูอาจารย์ของตนและพึงระลึกได้เสมอว่าเราจะต้องเคารพ
ในความเป็น ครู มิใช่เคารพบุคคลที่เป็นครู จึงจะถูกต้องตรงตามคำสอนของพระบรมศาสดา

                                  
               สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสสอนไว้ในเรื่องทิศ 6 ว่า ครูคือผู้อนุเคราะห์ศิษย์ด้วย
การปฏิบัติ 5 ประการ คือ แนะนำดี ได้แก่ การสอนให้ศิษย์ตั้งตนอยู่ในทำนองคลองธรรม รู้จักเหตุ รู้จักผล
รู้จักผิดชอบชั่วดี  ให้เรียนดี คือให้ศิษย์ได้รับการศึกษาด้วยดี ไม่มีอุปสรรคขัดข้อง ได้รับความรู้อย่างเต็มที่ สอนศิล
ปวิทยา โดยไม่ปิดบังอำพราง คือ สอนหรือให้ความรู้จนเต็มความสามารถของตน ยกย่องศิษย์ที่มีความรู้
ความสามารถและมีความประพฤติดีให้ปรากฏ ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย หมายถึง ป้องกันมิให้ศิษย์ประสบ
ความวิบัติตกต่ำในทุก ๆ ด้าน เช่น ป้องกัน มิให้ถูกใส่ร้ายป้องกันมิให้ประพฤติชั่ว ป้องกันมิให้ได้รับอันตราย เป็นต้น 
บุคคลที่ปฏิบัติตนต่อผู้อื่นด้วยความประพฤติดังกล่าวอย่างครบถ้วน ย่อมถือได้ว่าเป็นครูอย่างแท้จริง แม้ผู้เป็นครูจะ
มีความประพฤติปฏิบัติตรงตามคำสอนของพระบรมศาสดาเพียงข้อใดข้อหนึ่งก็สมควรที่ผู้เป็นศิษย์จะต้องเคารพ ยกย่อง
และการเคารพยกย่องครูนั้น ต้องเคารพยกย่องโดยความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ย่อมถือได้ว่า เป็นความเคารพ
ยกย่องที่ไม่งมงายและไม่เกิดโทษดังนั้นผู้เป็นศิษย์พึงแยกบุคคลและสภาพธรรมะหรือความประพฤติออกจากกัน
เป็นคนละส่วนจึงจะมองเห็นความน่าเคารพในครูอาจารย์ของตนและพึงระลึกได้เสมอว่าเราจะต้องเคารพ
ในความเป็น ครู มิใช่เคารพบุคคลที่เป็นครู จึงจะถูกต้องตรงตามคำสอนของพระบรมศาสดา

                                              
               ด้วยเหตุที่ครูเป็นบุคคลสำคัญ และพระคุณต่อศิษย์ดังกล่าวมาแล้ว ดังนั้น เมื่อจะมีการเรียนการสอนศิลปวิทยา
แขนงใด ๆ ก็ตามคนไทยเราซึ่งนับถื่อพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติจึงมีการไหว้ครู เป็นการมอบตัว
เข้าเป็น ศิษย์ของครูผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชา พิธีไหว้ครูที่ทำกันมาแต่โบราณ นิยมทำกันในวันพฤหัสบดี
(คติพราหมณ์ถือว่า พระพฤหัสบดีเป็นครูของเทวดาทั้งหลาย)โดยผู้เป็นศิษย์จะนำเครื่องสักการะ อันประกอบด้วย
ธูป เทียน ข้าวตอก ดอกมะเขือ และหญ้าแพรก ใส่พานและนำเข้าไปให้ครู แสดงความเคารพ(โดยการกราบ)
แล้วส่งเครื่องสักการะให้ ครู และกล่าววาจามอบตนเข้าเป็นศิษย์ของครู (หากเป็นเด็กเล็ก ๆ มารดาบิดาจะเป็นผู้นำ
ไปมอบและกล่าววาจาฝากฝัง บุตรของตนต่อครู) ครูจะรับเครื่องสักการะแล้วแนะนำสั่งสอนเป็นเบื้องต้น พร้อมทั้ง
ให้พรแก่ศิษย์ หลังจากนั้นครูก็เริ่มสอนศิลปวิทยาแก่ศิษย์ต่อไปเป็นลำดับจนศิษย์มีความรู้ สามารถประกอบอาชีพ
ได้ ครูก็จะส่งกลับคืนให้แก่มารดา บิดาเป็นอันว่าสำเร็จการศึกษา ในสมัยโบราณ ในระหว่างรับการศึกษานั้น ศิษย์จะ
ต้องพักอยู่ในบ้านของครูช่วยทำ กิจกรรมงานต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการเรียนส่วนครูก็จะเลี้ยงดูศิษย์ไปด้วย ดังนั้นศิษย์ในสมัยโบราณจึงเคารพนับถือครูเสมอด้วยมารดาบิดาเพราะเหตุที่ท่านให้ความอุปการะเลี้ยงดู ดุจมารดา
บิดาผู้ให้กำเนิด 

                                  
                                                       ความหมายของ"การไหว้ครู"
                "การไหว้ครู" คือ การแสดงถึงความเคารพกตเวทีแด่ท่านบูรพาจารย์ และครูบาอาจารย์ ผู้ซึ่งประสิทธิ์ประสาท
วิชาให้ เพื่อจะได้เป็นความรู้ติดตัวนำไปประกอบอาชีพ เพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ตนเองในภายภาคหน้า
                "การไหว้ครู" คือ การที่ศิษย์แสดงความเคารพ ยอมรับนับถือครูบาอาจารย์อย่างจริงใจว่า ท่านเพียบพร้อมด้วย
คุณธรรมความรู้ ศิษย์ในฐานะผู้สืบทอดมรดกทางวิชาการจึงพร้อมใจกันปวารณาตัวรับการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้วยความ
วิริยะอุตสาหะมานะอดทน เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายปลายทางของการศึกษาตามที่ได้ตั้งใจไว้
                "การไหว้ครู" คือ การแสดงถึงความสำนึกที่ดีงาม โดยเฉพาะเรามักจะกระทำแก่สิ่ง
ของหรือบุคคลที่มีความสำคัญแทบทั้งสิ้น เช่น นักเรียนประกอบพิธีไหว้ครู ก็เพราะนักเรียนเห็นว่าครูเป็นบุคคล
ที่สำคัญในชีวิตของเขา คือ เป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้ และเป็นปูชนียบุคคล ครูอาจารย์จึงเป็นบุคคลที่คู่ควร
แก่การไหว้เป็นอย่างยิ่ง

                            
                                                     ความสำคัญของการไหว้ครู          
               ไทยเรามีประเพณีการไหว้ครูมาแต่โบราณ เราไหว้ครูเพราะเราเคารพในความเป็นผู้รู้ และความเป็นผู้มีคุณธรรม
ของท่าน คุณสมบัติทั้ง 2 ประการของครูต้องสอดคล้องสัมพันธ์กับคุณธรรมของศิษย์ การเรียนการสอนจึงจะดำเนิน
ไปได้ด้วยดี ถ้าจะเปรียบการเรียนการสอนเป็นต้นไม้ คุณธรรมของครูนับตั้งแต่ปัญญา ความเมตตากรุณา และความ
บริสุทธิ์ใจซึ่งเป็นฐานรองรับให้ต้นไม้คงอยู่ได้ ในขณะเดียวกันคุณธรรมของศิษย์ไม่ว่าจะเป็นความเคารพ
ความอดทน หรือความมีระเบียบวินัยก็เปรียบเสมือนน้ำหล่อเลี้ยงให้ต้นไม้เจริญเติบโต ออกดอกออกผลอย่างงดงาม        
                จะเห็นว่าพิธีไหว้ครูแต่โบราณไม่มีพิธีรีตรองมากนักแต่มีความหมายแฝงไว้มากมายคนโบราณ เป็นนักคิดจะ
ทำอะไรก็มักจะผูกเป็นปริศนาที่ลึกซึ้งเอาไว้เสมอในพิธีไหว้ครูก็เช่นเดียวกันเครื่องสักการะที่ใช้ในการไหว้ครูนั้น นอกจากธูป เทียน แล้วยังมีข้าวตอก ดอกมะเขือ ดอกเข็ม และหญ้าแพรก ซึ่งเป็นของหาง่ายและมีความหมาย ดังจะ กล่าวต่อไปนี้ 

                                     

                  ข้าวตอก ทำมาจากข้าวเปลือกโดยนำข้าวเปลือกไปแช่น้ำให้นิมแล้วนำไปคั่วด้วยความ
ร้อนจนเม็ดข้าวแตกและ บานออกมีสีขาวบริสุทธิ์มีความหมายว่า ครูย่อมสอนศิษย์ทั้งด้วยวิธีปลอบโยนเปรียบได้กับ
น้ำที่ทำให้ข้าวเปลือกนิ่ม และวิธีการเคี่ยวเข็ญที่เข้มงวด มีการลงโทษเมื่อศิษย์ ไม่ประพฤติปฏิบัติตาม
เปรียบได้กับความร้อนที่คั่วข้าวเปลือก ทั้งนี้เพื่อให้ศิษย์มีความขยันขันแข็งและเอาใจใส่ในการเล่าเรียนจะได้เป็น
ผู้มีชีวิตที่สมบูรณ์ปราศจากความประพฤติ ชั่วทั้งปวง เปรียบได้กับสีขาวของข้าวตอกและมีความเจริญเฟื่องฟูในการ
ประกอบสัมมาอาชีพเปรียบได้กับการแตก บาน ของข้าวตอก 
                   ดอกมะเขือ เป็นดอกไม้ชนิดเดียวที่บานแล้วคว่ำดอกลงสู่พื้นดิน ไม่หงายขึ้นรับแสงอาทิตย์เช่นดอกไม้ชนิด
อื่น ๆ เป็นเครื่อง สักการะที่เตือนให้ศิษย์ระลึกได้อยู่เสมอว่า ศิษย์จักต้องก้มหน้าและน้อมรับคำสั่งสอนของครูเสมอ การ
โต้เถียงครูด้วยความโกรธ เป็นการกระทำที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง
                   ดอกเข็ม มีลักษณะแหลม มีความหมายว่า ศิษย์จะมีสติปัญญาเฉียบแหลมและฉลาดรอบรู้ได้
ก็ด้วยอาศัยครูเป็นผู้ ฝึกฝนเช่นเดียวกับการทำของที่แหลมคม ย่อมต้องมีการฝนหรือลับซึ่งต้องใช้ความพยายาม
อย่างมาก ครูเป็นบุคคลที่มี ความพยายามและอดทนในการให้การฝึกฝนศิษย์ จึงสมควรที่ศิษย์จะต้องบูชาและเคารพ
ยกย่อง 
                   หญ้าแพรก เป็นพืชที่ทนต่อความแห้งแล้งและการเหยียบย่ำและขยายพันธุ์ได้ดีในพื้นที่ทุก
ชนิดหญ้าชนิดนี้ จึงมี อยู่ทั่วไปทุกหนทุกแห่ง แม้ถูกเหยียบย่ำก็ไม่ตาย ได้รับน้ำฝนก็จะแตกใบขยายพันธุ์ขึ้นอีก
มีความหมายว่า ศิษย์จะต้อง อดทนต่อการเคี่ยวเข็ญดุว่า เฆี่ยนตีของครูโดยไม่ถือโกรธ ดุจดังหญ้าแพรกที่ถูกเหยียบย่ำ
ฉะนั้น การมีความอดทนต่อ การเคี่ยวเข็ญดุว่า เฆี่ยนตีของครูนั้น จะทำให้ศิษย์เป็นคนมีมานะอดทน รู้จักปรับตัว
และแก้ไข ความประพฤติที่บกพร่องให้ดีขึ้นเมื่อเติบโตขึ้นย่อมสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยดีในทุกหมู่ชนและ
ทุกสถานที่ดุจดังหญ้าแพรกที่สามารถ เจริญและขยายพันธุ์ได้ในพื้นที่ทุกแห่ง

                             
             ในปัจจุบันนี้เราจะสังเกตเห็นว่าเครื่องสักการะที่นักเรียนนำมาไหว้ครูนั้นนับวันจะหมด
ความหมายลงไปทุกทีนักเรียนมักซื้อดอกไม้ที่สวยงามจากตลาดแทนการใช้เครื่องสักการะที่มีความหมายซึ่งใช้กัน
มาแต่โบราณและมักไม่ใช้ความสามารถของตนในการจัดพานเครื่องสักการะครูส่วนใหญ่จะจ้างผู้มีฝีมือในทางด้านนี้
เป็นผู้จัดให้ข้อนี้อาจเป็นลาง บอกเหตุของความเสื่อมทางการศึกษาก็ได้้ เพราะปัจจุบันนักเรียนมักนิยม ให้ผู้อื่นทำแบบ
ฝึกหัดหรืองานที่จะส่งครู มากกว่าจะพยายามทำด้วยความสามารถของตนเอง การที่นักเรียนใช้ดอกไม้สวย
งามอื่น ๆ แทนเครื่องสักการะที่มีความหมายเป็นนิมิตหมายให้เราทราบว่านักเรียนในปัจจุบันมองเห็นว่าความ
สวยงามมีความสำคัญมากกว่าความดีและความถูกต้องการจ้างคนอื่นให้จัดเครื่องสักการะในการไหว้ครูเป็นนิมิตให้เรา
ทราบว่านักเรียนมิได้ระลึกถึงพระคุณของ ครูด้วยใจจริง แต่การกระทำไปตามประเพณีโดยปราศจากความเข้าใจ

                                               
             สิริมงคลซึ่งเกิดจาก การปฏิบัติอย่างถูกต้องจึง ไม่เกิดขึ้นแก่นักเรียนความไม่มีศรัทธา
ในพระคุณของครูทำให้การเรียนรู้ ของ นักเรียนเป็นไปอย่างไม่มีความมั่นใจ การ จดจำและการปฏิบัติตามคำสอน
ของครูจึงไม่เกิดขึ้นความรู้ความสามารถ ที่พึงมีพึงได้ก็ไม่เกิดขึ้นแก่นักเรียน นอกจากนี้ นักเรียนยังมี
ความประพฤติต่อครูผิดไปจากธรรมเนียมที่เคยมีมาแต่ก่อน เครื่องสักการะทั้ง 4 อย่างดังกล่าวแล้วย่อม แสดงให้เห็น
ได้อย่างชัดเจนเครื่องสักการะที่ขาดข้าวตอกนั้นเป็นนิมิตว่าในโรงเรียนทั่ว ๆ เริ่มจะขาดการชักจูง และการ เคี่ยวเข็ญลงโทษนักเรียนด้วยพากันเห็นว่าการทำโทษดุว่าเป็นพฤติกรรมที่น่า รังเกียจเป็นการแสดงความไม่เมตตาต่อ
นักเรียนดังนั้นส่วนใหญ่ของนักเรียนที่มีความประพฤติบกพร่องจึงไม่ได้รับการแก้ไข เราจึงพบเห็นนักเรียน
มีความ ประพฤติเลวทรามและหยาบคายอยู่ทั่วไปส่วนเครื่องสักการะที่ขาดดอกมะเขือนั้นเป็นนิมิตอย่างชัดเจนว่า 
ปัจจุบันนักเรียนส่วนใหญ่ไม่ใคร่น้อมรับคำสอนของครูด้วยความเคารพ มักจะมีการโต้เถียงและล่วงเกินครูด้วย
วาจาไม่สุภาพ หรือบางทีก็ใช้ถ้อยคำรุนแรงหยาบคายต่อครูก็มีไม่น้อย 

                            
             สำหรับเครื่องสักการะที่ขาดหญ้าแพรกนั้น ก็เป็นนิมิตหมายว่า นักเรียนจะไม่มีความ
อดทนต่อคำดุว่า และการ ทำโทษของครู และมองเห็นไปว่าครูชิงชัง ริษยา และพยาบาทตนความคิดเช่นนี้ทำให้นัก
เรียนมีนิสัยมองคนในแง่ร้าย ใครว่ากล่าวตักเตือนก็ไม่ได้ครั้นเติบโตขึ้นอยู่กับใครก็อยู่ยาก เอาแต่ใจของตน ไม่มีความ
เห็นใจคนอื่น เป็นเหตุให้ไม่มี ความเจริญก้าวหน้า เพราะคนเราแม้จะเก่งกล้าสามารถและมีความรู้มากมายเพียงใด
ก็ตาม หากไม่มีความ ประพฤติที่ดี งามเป็นที่ยอมรับของบุคคลอื่นที่แวดล้อมเกี่ยวข้องแล้ว ย่อมจะไม่ประสบ
ความสำเร็จในชีวิตได้ ดังโคลงโลกนิติที่สอนไว้ว่า  แม้มีความรู้ดั่ง สัพพัญญู ผิบ่มีคนชู ห่อนขึ้น หัวแหวนค่าเมืองตรู
ตราโลก ทองบ่รองรับพื้น ห่อนแก้วมีศรี ส่วนดอกเข็มนั้น เป็นดอกไม้ที่หาง่ายแม้จะไม่ใคร่ขาดก็ตามนักเรียนก็พึง
ระลึกอยู่เสมอว่าความฉลาดเฉียบแหลม ของคน เรานั้นมีไว้สำหรับสร้างความเจริญให้แก่ตนเองในทางที่ชอบ
ธรรมมิได้มีไว้ใช้ทิ่มแทงหรือทำลายคนอื่นและการที่จะมีความเฉลียวฉลาดได้นั้น จะต้องเป็นคนช่างจดจำ
และช่างคิดนึกตรึกตรองพิจารณาอย่างถี่ถ้วน จึงจะทำให้มีความ รู้เฉลียวฉลาดขึ้นได้  
            พิธีการไหว้ครูเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์และแฝงไว้ด้วยคติธรรมมากมายหลายอย่างจึงควร
ดำรงรักษาไว้และพยายามศึกษาให้เข้าใจถ่องแท้ อย่าสักแต่ว่าทำไปตามประเพณีต้องทำอย่างเข้าใจในเหตุและผล
หากทุกคน (ทั้งครูและ นักเรียน)มีความเข้าใจถูกต้องตรงกันพิธีไหว้ครูที่จัดทำขึ้นจะก่อให้เกิดสามัคคีในหมู่คณะเกิด
ความมั่นใจในการศึกษา ศิลปวิทยาแขนงต่าง ๆ และส่งผลให้ผู้ปฏิบัติประสบความเจริญก้าวหน้าในการประกอบอาชีพ
นำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมืองในที่สุด